หนึ่งในจังหวัดที่เต็มไปด้วยความครึกครื้นและผู้คนต่างแดนที่ผู้คนทั่วทุกมุมโลกต่างหลงใหลที่อยากจะมาสัมผัสกัน คือ เมืองกุมนั้นเอง เมืองกุมคือเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของประเทศอิหร่านที่มีเรื่องมีราวแห่งจิตวิญญาณผลึกอยู่ในเมืองแห่งนี้ เรามาดูกันว่าเมืองนี้มีสถานที่สำคัญๆอะไรบ้าง
ฮะรัมท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มะศูมะฮ์
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับสตรีนางนี้กันก่อนน่ะ ว่าเขาคือใคร ?
ชีวประวัติโดยสังเขปท่านหญิงฟาฏีมะฮ์มะศูมะฮ์(ซ.)
นามอันประเสริฐของท่าน ฟาฏีมะฮ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม มะศูมะฮ์
บิดาของท่านหญิงฟาฏีมะฮ์มะศูมะฮ์(ซ.) อิมามท่านที่ 7 ของบรรดาชีอะฮ์ อิมามมูซา อิบนฺ ญะฟัร(อ.)
และมารดาของท่านคือ ท่านหญิงนัญจ์มะ คอตูน ซึ่งก็เป็นมารดาในอิมามที่ 8 ด้วยเช่นกัน
ท่านหญิงมะศูมะฮ์(ซ.)ลืมตาดูโลกในวันที่ 1 ซุลฮิจญะฮ์ ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 173
ณ เมืองมะดีนะฮ์
โดยในวัยเด็กนี่เองที่ต้องพบเจอและทนทุกข์กับมูศีบัตการเป็นชะฮีดบิดาของท่าน ซึ่งถูกจำคุกโดยคำสั่งคอลีฟะฮ์ฮารูนในเมืองแบกแดด
ภายหลังต่อมาท่านหญิงจึงอยู่ภายใต้การดูแล อบรมสั่งสอนโดยผู้เป็นพี่ชายนั่นคืออิมามริฎอ(อ)
ในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 200 ภายใต้การคุกคามอย่างหนักของมะห์มูนคอลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ที่จะเนรเทศอิมามริฎอ(อ.)ไปยังเมืองมัรวฺ ได้เกิดขึ้น
ท่านหญิงมะศูมะฮ์(ซ.)ในเวลานั่นถึงแม้ว่าจะไม่มีคนในเครือญาติหรืออะฮ์ลุลเบตคนใดที่จะพาไปด้วย ก็ไม่ลังเลที่จะตัดสินใจเดินทางมุ่งหน้าสู่คุรอซานในทันที
หนึ่งปีหลังจากการฮิจเราะฮ์ ท่านหญิงมะศูมะฮ์(ซ.)ด้วยปราถนาอันแรงกล้าที่จะพบเจอกับพี่ชายอันเป็นที่รัก จึงออกเดินทางสู่คุรอซานพร้อมด้วยเครือญาติบางส่วนของท่านเป็นผู้ติดตามในครั่งนี้
โดยตลอดเส้นทางการเดินทางประชาชนที่รู้ข่าวคราวการมาของท่านต่างพากันให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
ซึ่งท่านหญิงมะศูมะฮ์(ซ.)ก็เหมือนท่านป้าของท่าน นั่นคือท่านหญิงซัยนับ(ซ.)ที่จะคอยส่งสาส์นการถูกกดขี่และการถูกโดดเดี่ยวของผู้เป็นพี่ชายต่อประชาชนผู้ศรัทธาและมวลมุสลิม และทำการเปิดโปงเลห์อุบายราชวงศ์อับบาซียะฮ์ที่คอยต่อต้านท่านและวงศ์วานอะฮ์ลุลเบต(อ.)
ด้วยเหตุนี้ก่อนที่กองคาราวานท่านหญิงจะไปถึงเมืองซอเวฮ์ พวกทหารที่ได้รับบัญชาจากผู้ปกครองได้ทำการปิดล้อมเส้นทางกองคาราวาน จึงก่อให้เกิดสงครามขึ้นในขณะที่ท่านหญิงก็ร่วมอยู่ด้วย
ซึ่งผลของการปะทะในครั้งนี้ทำให้ชายฉกรรจ์ในกองคาราวานเป็นชะฮีดเกือบทั้งหมด และบางริวายัตยังได้รายงานว่าแม้แต่ท่านหญิงมะศูมะฮ์(ซ.)เองก็โดนวางยาพิษในครั้งนี้ด้วย
ถึงกระนั่นการเดินทางก็ยังคงดำเนินต่อ
แต่เนื่องจากความโศกเศร้าและระทมทุกข์ที่มีอยู่อย่างมากมายหลังโศกนาฏกรรมในครั้งนี้หรือบางริวายัตที่ได้รายงานว่าเนื่องมาจากยาพิษท่านหญิงมะศูมะฮ์(ซ.)จึงล้มป่วยลงในที่สุด
โดยในตอนนั้นเมื่อหมดหนทางแล้วที่จะเดินทางต่อไปยังคุรอซาน จึงตัดสินใจเปลี่ยนเป้าหมายไปยังเมืองกุมแทน
ท่านหญิงมะศูมะฮ์(ซ.)ได้มีคำสั่งว่า..”จงนำฉันไปยังเมืองกุม เถิด! เพราะฉันเคยได้ยินว่า กุม จะกลายเป็นศูนย์กลางชีอะฮ์ของพวกเรา”
บรรดาผู้อาวุโสของเมือง เมื่อทราบข่าวการมาถึงของกองคาราวานท่านหญิงมะศูมะฮ์(ซ.)ยังเมืองกุม ต่างปลื้มปิติและรีบพากันไปต้อนรับท่านในวันที่ 23 รอบิอุ้ลเอาวั้ล ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 201 ในขณะที่มูซา บิน คัซรัจ ผู้อาวุโสตระกูลอัชอะรีทำหน้าที่จูงสายเชือกอูฐของท่านหญิงโดยมีประชาชนจำนวนมากที่เดินเท้าและขี่พาหนะรายล้อมเกี้ยวของท่านหญิงและกองคาราวานจึงได้เคลื่อนเข้าสู่เมืองกุม เมื่อได้มาถึงยังศูนย์กลางของเมือง
อูฐของท่านหญิงก็ได้หยุดลงและคุกเข่าอยู่หน้าประตูบ้านของมูซา บิน คัซรัจ ซึ่งสถานที่แห่งนี้ปัจจุบันมีชื่อว่า วงเวียนมีร
ดังนั่นความภาคภูมิใจและเกียรติยศในการได้เป็นผู้รับแขกท่านหญิงจึงตกเป็นของเขาโดยปริยาย
โดยเป็นเวลา 17 วันด้วยกันที่ท่านหญิงมะศูมะฮ์(ซ.)ได้ใช้ชีวิตในเมืองกุม ซึ่งในช่วงเวลานี้ท่านจะหมกมุ่นอยู่กับการทำอามั้ลอิบาดัตและการวิงวอนต่อพระผู้อภิบาลตลอดเวลา โดยสถานที่ทำอิบาดัตของท่าน ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ ถนนอัมมารยาซิร มีนามว่า บัยตุลนูร ซึ่งปัจจุบันได้การเป็นสถานที่เยี่ยมเยือนของผู้มาซิยารัต
ท้ายที่สุดในวันที่ 10 หรือ 12 รอบิอุ้ลซานี ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 201 ก่อนที่ผู้เดินทางจะได้พบปะกับพี่ชายอันเป็นที่รัก ณ สถานที่อันห่างไกล ด้วยความทุกข์โศกอันมากล้น ดวงตาคู่นี้ก็ได้ปิดลง เป็นการอำลาโลกดุนยาอย่างสงบ ทิ้งไว้ให้บรรดาชีอะฮ์ได้โศกาอาดูรในการสูญเสียในครั้งนี้
ประชาชนจำนวนมากด้วยความรักและเทิญเกียรติได้นำพาร่างของท่านไปยังสถานที่หนึ่ง ซึ่งสถานที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักในนามว่า สวนบาบิโลน เพื่อทำพิธีฝั่งร่างของท่าน ซึ่งในตอนนี้หลุมที่เตรียมไว้ก็พร้อมแล้ว แต่เมื่อต้องการจะฝั่งร่างของท่านก็มีการถกเถียงกันว่าใครจะเป็นนำร่างอันบริสุทธิ์นี้ลงไป
ทันใดนั้นก็ปรากฏบุรุษขี่ม้ามาสองท่านโดยทำการปกปิดใบหน้าเอาไว้
ได้เข้ามาทางทิศกิบลัตมาทำการนมาสให้ หลังจากนั้นคนหนึ่งก็ลงไปยังหลุม
อีกคนก็ทำการโอบอุ้มร่างอันบริสุทธิ์ท่านหญิงส่งไปให้เพื่อทำการฝั่ง เมื่อเสร็จพิธีทั้งสองก็ขึ้นขี่ม้าแล้วออกไปจากผู้คนโดยปราศจากการพูดคุยกับผู้ใดทั้งสิ้น
ซึ่งตามคำบอกเล่าบางส่วนของบรรดาอุลามา บุรุษทั้งสองคน คือฮุจญัตของพระองค์ นั้นก็คือท่านอิมามริฎอ(อ.)และอิมามญะวาด(อ.)ซึ่งการปรากฏของท่านทั้งสองในสถานที่วันนั้น มันเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติและถือว่าเป็นมุอฺญิซาต(ปฏิหาริย์)
หนึ่งในสถานที่สำคัญที่ผู้คนต่างหลั่งไหลมาเยี่ยมเยียนในทุกๆปี คือ สถานที่ฝั่งศพของสตรีท่านหนึ่งที่มีความยิ่งใหญ่ในมุมมองของพี่น้องมุสลิมนิกายชีอะฮ์ ซึ่งในตัวฮะรัมแห่งนี้ก็เต็มไปด้วยความสวยงามต่างๆที่สวยงามตระการตาเลยทีเดียว เรามาดูประวัติคร่าวๆเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้กันน่อยน่ะครับ
สถานฝังร่างอันบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มะศูมะฮ ได้มีการบูรณะซ่อมแซมและต่อเติมเรื่อยมาในหน้าประวัติศาสตร์.
ใน ฮ.ศ.ที่ ๖๐๕ อะมีร มุซัฟฟัร อะห์มัด บินอิสมาอีล เป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิตกระเบื้องผู้โด่งดังแห่งยุค มุฮัมหมัด บินอะบี ฏอเฮรกอชีย์ กุมมีย์ ได้ทำการสร้างและออกแบบกระเบื้องที่มีลวดลายหลากหลายไว้สำหรับประดับสุสาน. เขาใช้เวลา ๘ ปี ในการสร้างงานชิ้นนี้ และในปี ๖๑๓ การประดับกระเบื้องจึงแล้วเสร็จ.
จากคำบันทึกของ Jean Chardin นักเดินทางชาวฝรั่งเศสแห่งยุค ได้จารึกใน “มุชตาก ดาร” กล่าวถึงปีที่สร้างเอาไว้ ซึ่งคำนวณตามการเรียบเรียงอักษรแบบอาหรับที่ ๑๐๖๕
ในปีสุริยคติ 1377 (ปีอิหร่าน) สถานฝังพระศพได้มีการบูรณะซ่อมแซมขึ้นในรูปแบบใหม่ ซึ่งทำจากกระเบื้องและหิน และผนังด้านในประดับด้วยหินอ่อนสีเขียว.
โดมฮารัม
โดมแรกหลังจากหลังคาจักสานที่มูซา บิน คัซรัจได้สร้างขึ้นเหนือหลุมฝั่งศพท่านหญิงมะศูมะฮ์(ซ.) ก็มีสิ่งปลูกสร้างคล้ายโดมตามประสงค์ของท่านหญิงซัยนับ บุตรี อิมามญะวาด(อ.) ถูกสร้างขึ้นในกลางศตวรรตที่ 3 โดยอาศัยวัสดุจำพวก อิฐ ก้อนหินและปูนปาสเตอร์
เมื่อผ่านระยะเวลาหนึ่งภายหลังได้มีการฝั่งบรรดาสตรีแห่งตระกูลอาลาวีย์ใกล้ๆกับสุสานท่านหญิงมะศูมะฮ์(ซ.) จึงมีอีกสองโดมใกล้กับโดมแรกถูกสร้างขึ้น
สามโดมนี้อยู่เรื่อยมาจนถึงปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 447 และในปีเดียวกันนี้
มีร-อบุลฟัฎล์ อะรอกี(ที่ปรึกษาของทุคเเรล กาบีร ) ตามคำแนะนำของมัรฮูมเชคฏูซีให้เปลี่ยนสามโดมเป็นโดมเดี่ยวสูงตระหง่าน ตกแต่งลวดลาย และแต้มสี โดยให้มีการประดับประดาด้วยหินอ่อนและกระเบี้องเคลือบ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีซุ้มโค้งและบานหน้าต่าง แต่แน้นให้โดมครอบคลุมหลุมศพบรรดาสตรีผู้ทรงเกียรติของตระกูลอาลาวีย์ไว้
โดยโดมอันนี้ในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 925 ด้วยประสงค์ของราชินีชาฮ์บีฆี บีฆุม (ภรรยาในกษัตริย์ชาฮ์อิสมาอีล ซาฟาวี) ได้มีคำสั่งบูรณะใหม่อีกครั้ง โดยให้สร้างหลังคาด้านนอกโดม มีการตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบ และเช่นเดียวกันมีคำสั่งให้สร้างซุ้มโค้งทองคำพร้อมด้วยหอมินาเรตสูงอีก 2 หอในบริเวณลานอะตีกอีกด้วย
ในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 1218 ในปีเดียวกันนี้เป็นปีขึ้นครองราชย์ฟัตฮีกษัตริย์แห่งราชวงศ์กอญัรได้มีคำสั่งให้สร้างโดมประดับด้วยทองคำ ซึ้งโดมนี้ก็อยู่จนถึงปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 1379
จนกระทั่งปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 1380 เนื่องมาจากโครงสร้างที่ไม่เหมาะสมและเพื่อป้องกันความเสียหายอื่นๆที่จะตามมาด้วยประสงค์ของผู้บริหารฮารัมในสมัยนั้นจึงมีคำสั่งสร้างโดมอันใหม่และซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานของโดมฮารัมขึ้น โดยนำแผ่นอิฐทองคำเก่าออกทั้งหมดแล้วแทนที่ด้วยแผ่นอิฐทองคำอันใหม่โดยคราวนี้มีการอาศัยประสบการณ์ทางเทคนิคและวิทยาศาสตร์เขามาช่วย
โดยงบประมาณแผนการขยายโดมในครั้งนี้อยู่ที่ประมาณ 15,000 ล้านริยาล ซึ้งในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 1384 จึงแล้วเสร็จ
เอาล่ะ นี้ก็เป็นรายละเอียดคร่าวๆเกี่ยวกับสถานที่อันล้ำค่าและเก่าแก่แห่งนี้ ถามว่าระแวกฮะรัมหรือสถานที่แห่งนี้มีสถานที่เก่าแก่ทาวประวัติศาสตร์อีกหรือไม่ ? แน่นอนครับว่ามีเยอะมากกก เช่น
มัสยิดฏอบาฏอบาอี
มัสยิดแห่งนี้มีโดมห้่าสิบเสา ซึ่งสร้างมามาแทนลานสำหรับสตรีที่มีอยู่ในสมัยก่อน และด้วยกับโดมที่สูงสง่า ผู้สร้างมัสญิดนี้คือ มัรฮูม ฮุสญะตุลอิสลามวัลมุสลีมีน ฮอจ ออกอ มูฮัมมัด ฏอบาฏอบาอี โดยใช้เวลาสร้าง10ปี
มัสยิดนี้เป็นที่ซิยารัตของผู้มาเยี่ยมเยียนฮะรัม และยังถูกใช้เป็นที่รับแขกในสมัยราชวงซาฟาวี และในสมัยกอญอรที่แห่งนี้ได้ถูกทำให้กว้างมหญ่อีกครั้ง และในปีฮิจรีกามารีที่ 1338 สถานที่แห่งนี้ก็ได้เพิ่มพื้นที่ให้กว้างขึ้นอีกในทางทิศตะวันตก
และยังมีสถานที่อื่นๆรอบข้างที่มีความสวยงามตระการตาอยู่อีกด้วยน่ะ
มัสยิดญัมการอน
นี้คือหนึ่งมัสยิดที่สวยที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ มัสยิดสีเขียวฟ้าที่เต็มไปด้วยบรรยากาศทางจิตวิญญาณ ทุกคนที่มาเยือนจะต้องไม่พลาดกับการมาเยี่ยมเยียนมัสยิดอันโด่งดังแห่งนี้อย่างแน่นอน
มัสยิดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในวันที่ 17 เดือนรอมาฎอน ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 293 ตามคำสั่งของท่านอิมามซะมาน(อญ.) โดยท่านอิมามได้ทำการแนะนำแก่ปวงบรรดาชีอะฮ์ของท่านให้มาทำการนมาสยังมัสยิดแห่งนี้ โดยมีคำกล่าวว่า..ผู้ใดก็ตามที่ได้ทำการนมาสยังสถานที่แห่งนี้เสมือนว่าเขาได้ทำการนมาสยังกะบะฮ์ ด้วยเหตุนี้บรรดาผู้ที่หลงรักและผู้มีปราถนาต่างๆนานาจึงพากันมาแวะเวียนยังสถานที่แห่งนี้ และด้วยกับการตอบรับของท่าน จึงทำให้พวกเขาสมปราถนากว่าศตวรรตที่ตัวอาคารมัสยิดหลังนี้ได้ผ่านยุคสมัยมาอย่างยาวนานโดยอยู่ในการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนามาตลอด ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นอีกมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศอิหร่านซึ่งบรรดาผู้ถวิลหาท่านอิมามฮุจญัต(อญ.)เพื่อทำการรีบเร่งการปรากฎกายของท่าน อิมามผู้ซ่อนเร้นในทุกๆสัปดาห์จะมาทำการนั่งขอดุอา และขอความคุ้มครองจากท่านให้รอดพ้นจากฟิตนะฮ์และความวุ่นวายในยุคอาคิรุซซะมาน ยุคสุดท้ายนี้โดยสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันนี้ตั้งอยู่บริเวณภูเขาบะรอดารอน(สองพี่น้อง) ช่วงต้นเส้นทางสายเมืองกุมไปยังกาชาน
นอกจากนี้น่ะครับ ในเมืองกุมยังมีสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ให้เยี่ยชมกันอีกมากมายที่ทุกคนควรจะหาโอกาสไปกันสักครั้งหากมาถึงเมืองนี้แล้วไม่ว่าจะเป็นสถานที่ฝั่งศพของชะฮีดหรือผู้พลีชีพในหนทางของศาสนาและบุคคลสำคัญๆในหน้าประวัติศาสตร์อีกมากมาย ว่าแล้วทุกคนก็ิอยากหาโอกาสมาเยี่ยมเยือนเมืองนี้กันเลยใช่มั้ยครับ แล้วทุกคนจะไม่ผิดหวังเลย